วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2566

การเลี้ยงด้วงมะพร้าว แมลงกินได้

ด้วงสาคูหรือด้วงงวงมะพร้าว แมลงกินได้  

แมลงกินได้ กำลังเป็นที่นิยมรับประทานกันมากขึ้นเนื่องจากแมลงมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสูงการบริโภคผลิตภัณฑ์จากแมลงแทนผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ทั่วไปอาจส่งผลดีต่อสุขภาพปัจจุบันนอกจากจิ้งหรีดที่สามารถผลิตส่งออกต่างประเทศได้แล้วแล้ว ยังมีแมลงที่น่าสนใจอีกชนิดคือ ด้วงสาคูในระยะตัวหนอน ที่ในอนาคตอาจมีการส่งออกต่างประเทศได้

ด้วงสาคู มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Rhynchophorus ferrugineus Olivier วงศ์ Curculionidae

ชื่อสามัญ Red palm weevil, Red stripe weevil, Asiatic palm weevil, Sago palm weevil, Coconut weevil

   
ด้วงสาคู
มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงไฟ ทางภาคใต้เรียกว่า ด้วงลานหรือแมงหวัง เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของพืชตระกูลปาล์ม เช่น มะพร้าว ต้นสาคู หรือต้นลาน ปัจจุบันเป็นแมลงเศรษฐกิจมีความสำคัญเป็นแมลงกินได้และแหล่งอาหารโปรตีน ประเทศไทยสามารถเลี้ยงด้วงสาคูได้ทุกภาค ทุกฤดูกาล สามารถเลี้ยงได้ทั้งแบบธรรมชาติและการเลี้ยงแบบประยุกต์ เช่นการเลี้ยงในกะละมัง โรงเรือน ตู้กระจก การใช้ทางมะพร้าวเลี้ยง ด้วงสาคูเพาะพันธุ์และเลี้ยงง่าย โตเร็ว ใช้เวลาเพียงเดือนกว่า ก็สามารถจำหน่ายได้ มีแหล่งผลิตสำคัญทางภาคใต้เพราะมีสภาพอากาศเหมาะกับการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์


ลักษณะทั่วไป

ด้วงสาคู มีขนาดลำตัวยาว ประมาณ 2.2-3.5 เซนติเมตร ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลอมส้มหรือสีน้ำตาลปนดำ ปากยาวแบบบาง มีงวงโค้ง มีจุดแต้มสีน้ำตาลเข้มด้านบนของอกปล้องแรก จุดแต้มนี้มีหลากหลายรูปแบบ  ปีกคู่หน้ามีริ้วรอยเป็นเส้น ๆ ตามความยาวของปีก ปีกคลุมไม่มิดลำตัว เห็นส่วนปลายท้อง ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกัน โดยตัวผู้จะมีขนเป็นแนวที่ส่วนกลางตามความยาวของงวง ตัวเมียมีปลายงวงยาวเรียว


อุปกรณ์และอาหารที่ใช้เลี้ยง ประกอบด้วย

1.กะละมัง (สีดำ) พร้อมฝาปิ
2.อาหารหมูนมพ่อแม่พันธุ์
3.เปลือกมะพร้าวสดหรือแห้ง
4.กล้วยสุก
5.รำ
6.กากน้ำตาล
7.มันสำปะหลัง แช่น้ำ 1 คืน

ภาพโดย : นายเวชยันต์  วงค์ลอดแก้ว สถาบัน กศน.ภาคเหนือ