หลักสูตรการอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน
ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร
การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง เป็นงานที่สำคัญยิ่งของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) เพราะเป็นการจัดการศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามสภาพวิถีการดำรงชีวิต ความเชื่อ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อจัดการศึกษาที่สนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จากภารกิจดังกล่าว สำนักงาน กศน.ได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ (สถาบัน กศน.ภาคเหนือ) ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ หลักสูตร เทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษา บุคลากรและระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแก่สถานศึกษาในภูมิภาคและภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะการจัดการศึกษาสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมายบนพื้นที่สูงตามโครงการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อสนองงานตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีครู ศศช. ทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว และการพัฒนาครู ศศช.ก่อนการปฏิบัติงาน ก็เป็นภารกิจหนึ่งของ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
สถาบัน กศน.ภาคเหนือ ได้ดำเนินการ จัดอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 ต่อเนื่องกันมาสองปี ในรูปแบบ On-Site และจากการติดตามผลการอบรมพบว่า ครูที่ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ได้แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปีงบประมาณ 2564 ไม่สามารถดำเนินการจัดอบรมในรูปแบบ On-Site ได้ ดังนั้น สถาบัน กศน.ภาคเหนือ จึงได้ปรับหลักสูตรและรูปแบบเป็นการอบรมผ่านระบบ Online ซึ่งจากการติดตามการฝึกอบรมในภาคปฏิบัติในพื้นที่ที่ครู ศศช. ปฏิบัติงานพบว่า การเรียนรู้ ในรูปแบบ Online มีปัญหาในด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ตขาดหาย ทำให้เนื้อหาที่วิทยากรบรรยายขาดหายไป ไม่ต่อเนื่อง บางครั้งต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊กเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนครูที่เข้ารับการอบรมร่วมกันทำให้ไม่สะดวกในการเรียนรู้ นอกจากนี้ ผู้เข้าอบรมได้ให้ข้อเสนอแนะว่าหากไม่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ควรเปลี่ยนมาอบรมในรูปแบบ On-Site จะสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าเพราะมีกระบวนการกลุ่มได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูในการฝึกภาคปฏิบัติ ได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย ในการนำมาเป็นแนวปฏิบัติงานได้ กอปรกับการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงบรรยายพิเศษ โดยทรงเน้นย้ำเรื่องของการจัดทำแผน การเรียนรู้ จริยะศึกษาของครู และการจัดทำแผนการสอนใน 3 เรื่อง คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้สื่อเทคโนโลยี และด้านศิลปะวัฒนธรรม ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา ความต้องการและสนองพระราชกระแสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี ที่ทรงบรรยายพิเศษ ในการประชุมประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ประจำปี 2564 และบทบาทภารกิจดังกล่าว สถาบัน กศน.ภาคเหนือ จึงได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน โดยปรับเพิ่มเนื้อหา และรูปแบบกระบวนการเรียนรู้จากรูปแบบ Online เป็น On-Site เพื่อนำไปใช้ในการจัดอบรมครู ศศช.ที่ปฏิบัติงานใหม่ และไม่เคยได้รับการอบรมหลักสูตรนี้ ให้มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บทบาทในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง ตลอดจนมีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
หลักการของหลักสูตร
1. เป็นหลักสูตรสำหรับอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ที่ปฏิบัติงานใหม่ และไม่เคยได้รับการอบรมหลักสูตรนี้
2. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรนี้ ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
3. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
4. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรนี้ เป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้
5. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรนี้ นำความรู้และประสบการณ์ไปจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ชุมชน และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
หลักสูตรนี้ให้ความรู้และประสบการณ์เพื่อให้ผู้จบหลักสูตรฯ มีคุณลักษณะ ดังนี้
1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์การเรียนฯ และบทบาทในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง
2. มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
3. มีการทักษะในการแสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง และจากกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)
4. มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “ใฝ่เรียนรู้” ในระดับดีขึ้นไป
5. สามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
กลุ่มเป้าหมายของหลักสูตร
ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" ที่ปฏิบัติงานใหม่ และไม่เคยได้รับการอบรมหลักสูตรนี้ ในพื้นที่เป้าหมาย 14 จังหวัด
ระยะเวลาการพัฒนา
ระยะเวลาการพัฒนา จำนวน 70 ชั่วโมง แบ่งเป็น
1) ทฤษฎี จำนวน 30 ชั่วโมง แยกเป็น
(1) ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง จำนวน 9 ชั่วโมง
(2) เข้ารับการอบรม จำนวน 21 ชั่วโมง
2) ปฏิบัติ จำนวน 40 ชั่วโมง แยกเป็น
(1) เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 3 ชั่วโมง
(2) การฝึกประสบการณ์ในพื้นที่ (ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง) จำนวน 25 ชั่วโมง
(3) การสัมมนา เพื่อนำเสนอผลการนำความรู้ไปใช้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC จำนวน 12 ชั่วโมง
รูปแบบการพัฒนา
1. ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. เรียนรู้จากการเข้ารับการอบรมในรูปแบบ On-Site
3. เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงภาคสนาม
4. เรียนรู้จากกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ด้วยการเข้ารับการสัมมนา
โครงสร้างหลักสูตร
เรื่อง | หัวเรื่อง | เวลาเรียน (ชั่วโมง) | ||
ทฤษฎี | ปฏิบัติ | รวม | ||
1 |
การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง 1) แนวคิด ปรัชญา กลยุทธ์ การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง 2) จิตวิทยาผู้ใหญ่ 3) การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม 4) การจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 5) PLC กับการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง -การใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) |
6 | 1 | 7 |
2 |
การบริหารจัดการศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.) 1) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.) 2) การจัดสภาพศูนย์การเรียนชุมชนฯ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในและภายนอก 3) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน (เอกสารแบบฟอร์ม) 4) การรายงานผลการปฏิบัติงาน |
2 |
- |
2 |
3 |
ความเป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา ”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.) 1) ประวัติความเป็นมาของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.) 2) เจตคติและอุดมการณ์ความเป็นครู 3) จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู 4) ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.) ในสภาพสังคมปัจจุบัน |
4 |
- |
4 |
4 |
บทบาทในการจัดการศึกษาของ ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.) 1) การส่งเสริมการรู้หนังสือ 2) การศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) การศึกษาต่อเนื่อง 4) การศึกษาตามอัธยาศัย 5) การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.) - โครงการอาหารกลางวัน - โครงการทุนการศึกษาเด็กสภาวะยากลำบากในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือ - กิจกรรมชุมชน ที่ริเริ่มจากชุมชน แล้วเรามีส่วนร่วม |
8 |
|
8 |
5 |
ความรู้และทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 1) ความตระหนักในการปฏิบัติงานตามโครงการพระราชดำริฯกับงานศศช. - โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ - โครงการส่งเสริมภาษาไทยบนพื้นที่สูง (การฟัง-พูด) 2) แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริฯ - การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - การอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม - การใช้สื่อเทคโนโลยี 3) แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม และความเชื่อของชุมชน 4) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์ 5) การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง |
7 | 5 | 12 |
6 |
การจัดทำแผนงานโครงการในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง 1) การสำรวจข้อมูลชุมชน 2) การจัดทำแผนงาน/โครงการ |
3 | 22 | 25 |
7 |
การสัมมนาก่อนจบหลักสูตร (ดำเนินการหลังจากการอบรม 2 เดือน) - การนำเสนอผลการนำความรู้ไปใช้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC |
- |
12 | 12 |
รวม | 30 | 40 | 70 |
รายละเอียดของหลักสูตร
หัวเรื่อง | จุดประสงค์การเรียนรู้ | รายละเอียดเนื้อหา |
กิจกรรมประสบการณ์ การเรียนรู้ |
|
จำนวน (ชั่วโมง) | |||
วิธีการ | เครื่องมือ | ทฤษฎี | ปฏิบัติ | |||||
1. การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง | 1. อธิบายแนวคิด ปรัชญา กลยุทธ์ การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงได้ 2. อธิบายจิตวิทยาเด็กและผู้ใหญ่ได้ 3. อธิบายการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม และการใช้ข้อมูลชุมชน เป็นฐานได้ 4. นำความรู้เรื่องการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงไปใช้ปฏิบัติงานในชุมชนได้ |
1) แนวคิด ปรัชญา กลยุทธ์ การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง 2) จิตวิทยาผู้ใหญ่ 3) การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม 4) การจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 5) PLC กับการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง - การใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) |
1. บรรยาย 2. ฝึกปฏิบัติ |
1. สื่อ Power Point 2. เอกสารประกอบการอบรม 3. ใบงาน |
1. ตรวจใบงาน 2. ทดสอบ |
1. แบบประเมินการฝึกปฏิบัติตามใบงาน 2. แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ |
6 | 1 |
2. การบริหาจัดการศูนย์การเรียนชุมชนฯ |
1. อธิบายบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.) 2. อธิบายการจัดสภาพศูนย์การเรียนชุมชนฯให้เอื้อต่อการเรียนรู้ได้ 3.บอกรายการเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ งานได้ 4. สรุปการรายงานผลการปฏิบัติงานได้ |
1) การจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนฯ 2) การจัดสภาพศูนย์การเรียนชุมชนฯ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 3) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน 4) การรายงานผลการปฏิบัติงาน |
1. บรรยาย 2. ซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้ารับการอบรม 3. สรุปองค์ความรู้ ร่วมกัน |
1. สื่อ Power Point 2. เอกสารประกอบการอบรม |
ทดสอบ | แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ |
2 |
- |
3. ความเป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ | 1. อธิบายความเป็นมาของครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ ได้ 2. อธิบายเจตคติและอุดมการณ์ความเป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ ได้ 3. อธิบายจรรยาบรรณวิชาชีพครูได้ 4. บอกความแตกต่างของครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ ในอดีตและปัจจุบันได้ |
1) ประวัติความเป็นมาของครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ 2) เจตคติและอุดมการณ์ความเป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ 3) จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู 4) ครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ ในสภาพสังคมปัจจุบัน |
1. บรรยาย 2. กิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจ 3. สรุปองค์ความรู้ ร่วมกัน |
1. สื่อ Power Point 2. เอกสารประกอบการอบรม 3. สื่อวิดีทัศน์ |
ทดสอบ | แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ |
4 |
- |
4.บทบาทในการ จัดการศึกษาของ ครูศูนย์การเรียนชุมชนชุมชน ชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” |
อธิบายบทบาทของครูศูนย์การเรียนชุมชนชุมชน ชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ได้ | 1) การส่งเสริมการรู้หนังสือ 2) การศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) การศึกษาต่อเนื่อง 4) การศึกษาตามอัธยาศัย 5) การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ศูนย์การเรียนชุมชน ชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” - โครงการอาหารกลางวัน - โครงการทุนการศึกษาเด็กสภาวะยากลำบากในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือ - กิจกรรมชุมชน |
1. บรรยาย 1. สื่อ Power Point 2. เอกสารประกอบการอบรม | ทดสอบ | แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ |
8 |
- |
|
5. ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน | 1. อธิบายความเป็นมาของโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ และโครงการส่งเสริมภาษาไทยบนพื้นที่สูง (การฟัง-พูด) ได้ 2. อธิบายแนวทางการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม และความเชื่อของชุมชนได้ 3. บอกวิธีการบำรุงรักษา โซล่าเซลล์ได้ 4. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง (DM-HACLC) |
1) โครงการพระราชดำริฯ - สร้างป่าสร้างรายได้ - การส่งเสริมภาษาไทยบน พื้นที่สูง (การฟัง-พูด) 2) แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม และความเชื่อของชุมชน 3) การบำรุงรักษาโซล่าเซลล์ 4) การใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง (DM-HACLC) |
1. บรรยาย 2. แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมตามใบงาน 3. สรุปองค์ความรู้ ร่วมกัน |
1. สื่อ Power Point 2. เอกสารประกอบการอบรม |
1. ตรวจใบงาน 2. ทดสอบ |
1. แบบประเมินการฝึกปฏิบัติตามใบงาน 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ |
7 |
5 |
6. การจัดทำแผนงานโครงการในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง | 1. บอกขั้นตอนการสำรวจข้อมูลในชุมชนได้ 2. รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำแผนงานโครงการในการ จัดการศึกษาบนพื้นที่สูงได้ |
1) การสำรวจข้อมูลชุมชน 2) แผนงาน/โครงการ |
1. บรรยาย 2. ฝึกปฏิบัติ 3. สรุปองค์ความรู้ ร่วมกัน |
1. สื่อ Power Point 2. ใบงาน 3. กระดาษบรู๊ฟ 4. สีไม้ 12 สี 5. ปากกาเคมี 6. ไม้บรรทัด 7. กระดาษ A4 8. เอกสารประกอบการอบรม |
1. ตรวจใบงาน 2. ทดสอบ |
1. แบบประเมินการฝึกปฏิบัติ ตามใบงาน 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ |
3 | 28 |
7. การสัมมนาก่อนจบหลักสูตร (สัมมนาหลังอบรม 2 เดือน) |
นำเสนองานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC ได้ |
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC
|
1. นำเสนอการจัดทำแผนงานโครงการในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงได้ 2. สรุปองค์ความรู้ ร่วมกัน |
1.โปรเจคเตอร์ 2.คอมพิวเตอร์ |
1. ประเมินรายงานการศึกษาชุมชน 2. ทดสอบ |
1. แบบประเมินรายงานการศึกษาชุมชน 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ |
- |
6 |
รวม |
30 |
40 |
กิจกรรมการเรียนรู้/ประสบการณ์การเรียนรู้
1. ศึกษาด้วยตนเอง2. วิทยากรให้ความรู้
3. ฝึกปฏิบัติ
4. สัมมนาการนำเสนอผลการนำความรู้ไปใช้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC
5. สรุปองค์ความรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการฝึกอบรม
2. สื่อวิดิทัศน์
3. สื่อ Power Point
3. ระบบโปรแกรมฐานข้อมูลสารสนเทศ ศศช. สำนักงาน กศน. (DM -HACLC)
4. วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู
5. ใบงาน
6. ผู้รู้ ภูมิปัญญา ชุมชน
1. เอกสารประกอบการฝึกอบรม
2. สื่อวิดิทัศน์
3. สื่อ Power Point
3. ระบบโปรแกรมฐานข้อมูลสารสนเทศ ศศช. สำนักงาน กศน. (DM -HACLC)
4. วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู
5. ใบงาน
6. ผู้รู้ ภูมิปัญญา ชุมชน
แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้
การออกหลักฐาน
ผู้ที่จะได้รับวุฒิบัตร จะต้องผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรโดยประเมินครบทั้งระบบของหลักสูตร ประกอบด้วย การประเมินเอกสารหลักสูตร การประเมินผลระบบของหลักสูตร และการประเมินผลผลิต
เกณฑ์การประเมินหลักสูตร
1. องค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกัน (ค่า IOC มีค่าไม่น้อยกว่า 0.5)
2. ร้อยละ 80 ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
3. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการเข้ารับการอบรมในระดับดีขึ้นไป
4. ร้อยละ 60 ของผู้เข้ารับการอบรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
5. ร้อยละ 80 ของผู้จบหลักสูตรสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่
6. ร้อยละ 10 ของผู้จบหลักสูตรสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่จนเห็นเป็นประจักษ์หรือตัวอย่างที่ดี
ประเด็นการประเมิน/วิธีการ | เครื่องมือ | เกณฑ์การประเมิน | |
เกณฑ์การผ่าน | เกณฑ์การจบหลักสูตร | ||
1. ประเมินความรู้ ความเข้าใจ 1.1 ทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน (30ข้อ) 1.2 ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน (30 ข้อ) (30 คะแนน) |
1.แบบทดสอบก่อนเรียน 2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
1. มีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 | 1. มีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการประเมินทักษะ รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 2. มีระยะเวลาการเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาของหลักสูตร 3. มีคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ “ใฝ่เรียนรู้” ในระดับดีขึ้นไป |
2. ประเมินทักษะ (70 คะแนน) 2.1 ประเมินจากการฝึกปฏิบัติตามใบงานระหว่างการอบรม (20 คะแนน) 2.2 ประเมินจากการฝึกประสบการณ์การจัดการเรียนรู้การจัดทำสำรวจข้อมูล การจัดทำแผนงานโครงการ (50 คะแนน) 2.2.1 ประเมินจากการนำเสนอ (20 คะแนน) 2.2.2 ประเมินจากเอกสารแผนงานโครงการ (30 คะแนน) |
3. แบบประเมินการนำเสนอผลงาน 4. แบบประเมินเอกสารแผนงานโครงการ |
1. มีคะแนนจากการตรวจผลงานตามใบงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 (ศิลปะวัฒนธรรม/ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ (DM-HACLC)) |
|
3. ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “ใฝ่เรียนรู้”
|
- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “ใฝ่เรียนรู้” | -ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “ใฝ่เรียนรู้”ในระดับดีขึ้นไป |
การออกหลักฐาน
ผู้ที่จะได้รับวุฒิบัตร จะต้องผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรโดยประเมินครบทั้งระบบของหลักสูตร ประกอบด้วย การประเมินเอกสารหลักสูตร การประเมินผลระบบของหลักสูตร และการประเมินผลผลิต
องค์ประกอบ การประเมิน |
รายการประเมิน | วิธีการ | เครื่องมือ | ระยะเวลา |
1. การประเมินเอกสารหลักสูตร | องค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร ได้แก่ - ข้อมูลพื้นฐาน - จุดมุ่งหมายหลักสูตร - โครงสร้างของหลักสูตร - เนื้อหาของหลักสูตร - ฯลฯ |
- พิจารณาความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆของหลักสูตร - ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมต่อด้านหลักสูตร |
- แบบประเมินความสอดคล้อง 3 ระดับ - แบบสอบถามความพึงพอใจ มาตราประมาณค่า 5 ระดับ |
-ก่อนใช้หลักสูตร
|
2. การประเมินผลระบบของหลักสูตร | 1. ด้านหลักสูตร 2. ด้านวิทยากร 3. ด้านสื่อการเรียนรู้ 4. ด้านกระบวนการการจัดการเรียนรู้ 5. ด้านการวัดผล และประเมินผล 6. ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ 7. ด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ |
ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม | แบบสอบถาม ความพึงพอใจ มาตราประมาณค่า 5 ระดับ |
หลังการใช้หลักสูตร |
3. การประเมิน ผลผลิต/ผลลัพธ์ |
1. ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน 2. การนำความรู้ไปใช้ |
1. ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากรายงานผู้จบหลักสูตร 2. การติดตามการนำความรู้ไปใช้ |
1. รายงานผู้จบหลักสูตร 2. แบบติดตามการนำความรู้ไปใช้ |
หลังใช้ หลักสูตร |
เกณฑ์การประเมินหลักสูตร
1. องค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกัน (ค่า IOC มีค่าไม่น้อยกว่า 0.5)
2. ร้อยละ 80 ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
3. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการเข้ารับการอบรมในระดับดีขึ้นไป
4. ร้อยละ 60 ของผู้เข้ารับการอบรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
5. ร้อยละ 80 ของผู้จบหลักสูตรสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่
6. ร้อยละ 10 ของผู้จบหลักสูตรสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่จนเห็นเป็นประจักษ์หรือตัวอย่างที่ดี