วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2566

แนวทางการสืบทอดสื่อวัฒนธรรมชุมชน

รูปแบบ คุณค่า สื่อวัฒนธรรม

วัฒนธรรมตามความหมายของวิชามานุษยวิทยา ได้แก่ สิ่งอันเป็นวิถี ชีวิตของสังคม คนในส่วนรวมของสังคมจะคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร มีความเชื่อ อย่างไร ก็แสดงออกให้ปรากฏเห็นเป็นรูปภาษา ประเพณีกิจการงาน การละเล่น การศาสนา เป็นต้น ตลอดจนเป็นสิ่งต่างๆ ที่คนในส่วนรวมสร้างขึ้น เช่น สิ่งอันจำเป็นแก่วิถีชีวิตและการครองชีพ มีเรื่องปัจจัยสี่ เครื่องมือเครื่องใช้เป็นต้น ความคิด ความรู้สึก ความเชื่อที่แสดงออกให้ปรากฏเป็นสิ่งต่างๆ แล้วถ่ายทอดสืบ ต่อกันมาหลายชั่วคน มีการเพิ่มเติมเสริมสร้างสิ่งใหม่ ปรับปรุงสิ่งเก่าให้เข้ากัน นี่คือ ความหมายของวัฒนธรรม”(สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ทุนสนับทุนสนับสนุนจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 499/2556 มิถุนายน 2557)


รูปแบบ คือ สิ่งที่มองเห็นว่าเป็นเช่นนั้น ๆ อย่างรูปคน รูปบ้าน รูปปลา รูปใบไม้ เช่น รูปแบบผู้หญิง รูปแบบเป็ด รูปแบบวัด สามารถมองเห็น สังเกตได้ อธิบาย บอกได้ ว่ากำลังทำอะไร 
คุณค่า คือ สิ่งที่มองไม่เห็น อารมณ์ ความรู้สึก จิตใต้สำนึกความสำคัญของคุณค่าทางวัฒนธรรม ความสำคัญของค่านิยมทางวัฒนธรรมอยู่ที่การสร้างคนให้มีความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบมากขึ้นรวมถึงความรู้สึกว่าเป็นของรากเหง้าและวัฒนธรรมเมื่อผู้คนส่งเสริมค่านิยมเหล่านี้ในสมาชิกคนอื่น ๆ ของสังคมพวกเขากำลังเปิดประตูสู่ความเข้าใจและยอมรับความแตกต่างที่เกี่ยวกับผู้อื่นความอดทนความเคารพความเสมอภาคเสรีภาพในการนมัสการเป็นตัวอย่างของค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ได้รับการฝึกฝน

ต้นไม้" เปรียบเทียบ รูปแบบ (สิ่งที่มองเห็น) คือ กิ่งไม้ ใบไม้ ลำต้น ผล ดอก  ไม่ว่าต้นไม้อยู่ที่ไหน ทุกคนจะอธิบาย บอกได้ตามสิ่งที่เห็น  คุณค่า (สิ่งที่มองไม่เห็น) คือ รากเหง้า รากแก้ว รากแขนง ซึ่งจะต้องบำรุงรักษา ดูแลเอาใจใส่   ถ้าหากไม่มีการดูแลรักษา ทะนุบำรุง เช่น ดิน น้ำ ปุ๋ย เป็นต้น จะไม่อุดมสมบูรณ์ เจริญเติบโต ออกดอก ออกผล (รูปแบบ


วัฒนธรรมชุมชน เปรียบกับต้นไม้ รูปแบบ (สิ่งที่มองเห็น) คนนอกชุมชน จะมองเห็น สามารถบอกได้ตามที่สิ่งที่เห็น แต่จะไม่สามารถบอก คุณค่า (สิ่งที่มองไม่เห็น)วัฒนธรรมในชุมชน เจ้าของวัฒนธรรมชุมชน โดยชุมชน ของชุมชนเท่านั้นที่จะบอกว่า คุณค่าวัฒนธรรมชุมชน มีความหมายอะไร จะต้องดูแล อนุรักษ์ สืบทอด คุณค่า รูปแบบอย่างไร