วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2566

หลักสูตรการอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน

หลักสูตรการอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน

ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร

การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง เป็นงานที่สำคัญยิ่งของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) เพราะเป็นการจัดการศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามสภาพวิถีการดำรงชีวิต ความเชื่อ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อจัดการศึกษาที่สนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จากภารกิจดังกล่าว สำนักงาน กศน.ได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ (สถาบัน กศน.ภาคเหนือ) ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ หลักสูตร เทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษา บุคลากรและระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแก่สถานศึกษาในภูมิภาคและภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะการจัดการศึกษาสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมายบนพื้นที่สูงตามโครงการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อสนองงานตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีครู ศศช. ทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว และการพัฒนาครู ศศช.ก่อนการปฏิบัติงาน ก็เป็นภารกิจหนึ่งของ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ

 

สถาบัน กศน.ภาคเหนือ ได้ดำเนินการ จัดอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 ต่อเนื่องกันมาสองปี ในรูปแบบ On-Site และจากการติดตามผลการอบรมพบว่า ครูที่ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ได้แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปีงบประมาณ 2564 ไม่สามารถดำเนินการจัดอบรมในรูปแบบ On-Site ได้ ดังนั้น สถาบัน กศน.ภาคเหนือ จึงได้ปรับหลักสูตรและรูปแบบเป็นการอบรมผ่านระบบ Online ซึ่งจากการติดตามการฝึกอบรมในภาคปฏิบัติในพื้นที่ที่ครู ศศช. ปฏิบัติงานพบว่า การเรียนรู้ ในรูปแบบ Online มีปัญหาในด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ตขาดหาย ทำให้เนื้อหาที่วิทยากรบรรยายขาดหายไป ไม่ต่อเนื่อง บางครั้งต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊กเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนครูที่เข้ารับการอบรมร่วมกันทำให้ไม่สะดวกในการเรียนรู้ นอกจากนี้ ผู้เข้าอบรมได้ให้ข้อเสนอแนะว่าหากไม่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ควรเปลี่ยนมาอบรมในรูปแบบ On-Site จะสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าเพราะมีกระบวนการกลุ่มได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูในการฝึกภาคปฏิบัติ ได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย ในการนำมาเป็นแนวปฏิบัติงานได้ กอปรกับการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงบรรยายพิเศษ โดยทรงเน้นย้ำเรื่องของการจัดทำแผน การเรียนรู้ จริยะศึกษาของครู และการจัดทำแผนการสอนใน 3 เรื่อง คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้สื่อเทคโนโลยี และด้านศิลปะวัฒนธรรม ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา ความต้องการและสนองพระราชกระแสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี ที่ทรงบรรยายพิเศษ ในการประชุมประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ประจำปี 2564 และบทบาทภารกิจดังกล่าว สถาบัน กศน.ภาคเหนือ จึงได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน โดยปรับเพิ่มเนื้อหา และรูปแบบกระบวนการเรียนรู้จากรูปแบบ Online เป็น On-Site เพื่อนำไปใช้ในการจัดอบรมครู ศศช.ที่ปฏิบัติงานใหม่ และไม่เคยได้รับการอบรมหลักสูตรนี้ ให้มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บทบาทในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง ตลอดจนมีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน

หลักการของหลักสูตร

1. เป็นหลักสูตรสำหรับอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ที่ปฏิบัติงานใหม่ และไม่เคยได้รับการอบรมหลักสูตรนี้
2. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรนี้ ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
3. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
4. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรนี้ เป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้
5. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรนี้ นำความรู้และประสบการณ์ไปจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ชุมชน และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

จุดมุ่งหมายของหลักสูตร

หลักสูตรนี้ให้ความรู้และประสบการณ์เพื่อให้ผู้จบหลักสูตรฯ มีคุณลักษณะ ดังนี้

1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์การเรียนฯ และบทบาทในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง
2. มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
3. มีการทักษะในการแสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง และจากกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)
4. มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “ใฝ่เรียนรู้” ในระดับดีขึ้นไป
5. สามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

กลุ่มเป้าหมายของหลักสูตร

ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" ที่ปฏิบัติงานใหม่ และไม่เคยได้รับการอบรมหลักสูตรนี้ ในพื้นที่เป้าหมาย 14 จังหวัด

 
ระยะเวลาการพัฒนา

ระยะเวลาการพัฒนา จำนวน 70 ชั่วโมง แบ่งเป็น

1) ทฤษฎี จำนวน 30 ชั่วโมง แยกเป็น
      (1) ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง จำนวน 9 ชั่วโมง
       (2) เข้ารับการอบรม จำนวน 21 ชั่วโมง
2) ปฏิบัติ จำนวน 40 ชั่วโมง แยกเป็น
       (1) เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 3 ชั่วโมง
        (2) การฝึกประสบการณ์ในพื้นที่ (ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง) จำนวน 25 ชั่วโมง
(3) การสัมมนา เพื่อนำเสนอผลการนำความรู้ไปใช้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC จำนวน 12 ชั่วโมง

รูปแบบการพัฒนา

1. ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. เรียนรู้จากการเข้ารับการอบรมในรูปแบบ On-Site
3. เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงภาคสนาม
4. เรียนรู้จากกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ด้วยการเข้ารับการสัมมนา

โครงสร้างหลักสูตร
เรื่อง หัวเรื่อง เวลาเรียน (ชั่วโมง)
ทฤษฎี ปฏิบัติ รวม

1


การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง
1) แนวคิด ปรัชญา กลยุทธ์ การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง
2) จิตวิทยาผู้ใหญ่
3) การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
4) การจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
5) PLC กับการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง
-การใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)
6 1 7

2

การบริหารจัดการศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)
1) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)
2) การจัดสภาพศูนย์การเรียนชุมชนฯ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในและภายนอก
3) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน (เอกสารแบบฟอร์ม)
4) การรายงานผลการปฏิบัติงาน
2

-

2

3

ความเป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา
”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)
1) ประวัติความเป็นมาของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)
2) เจตคติและอุดมการณ์ความเป็นครู
3) จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
4) ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.) ในสภาพสังคมปัจจุบัน
4

-

4

4

บทบาทในการจัดการศึกษาของ ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)
1) การส่งเสริมการรู้หนังสือ
2) การศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) การศึกษาต่อเนื่อง
4) การศึกษาตามอัธยาศัย
5) การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)
- โครงการอาหารกลางวัน
- โครงการทุนการศึกษาเด็กสภาวะยากลำบากในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือ
- กิจกรรมชุมชน ที่ริเริ่มจากชุมชน แล้วเรามีส่วนร่วม
8

 

8

5

ความรู้และทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
1) ความตระหนักในการปฏิบัติงานตามโครงการพระราชดำริฯกับงานศศช.
- โครงการสร้างป่าสร้างรายได้
- โครงการส่งเสริมภาษาไทยบนพื้นที่สูง (การฟัง-พูด)
2) แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริฯ
- การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม
- การใช้สื่อเทคโนโลยี
3) แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม และความเชื่อของชุมชน
4) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์
5) การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง
7 5 12

6

การจัดทำแผนงานโครงการในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง
1) การสำรวจข้อมูลชุมชน
2) การจัดทำแผนงาน/โครงการ
3 22 25

7

การสัมมนาก่อนจบหลักสูตร
(ดำเนินการหลังจากการอบรม 2 เดือน)
- การนำเสนอผลการนำความรู้ไปใช้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC

-

12 12
รวม 30 40 70

รายละเอียดของหลักสูตร
หัวเรื่อง จุดประสงค์การเรียนรู้ รายละเอียดเนื้อหา

กิจกรรมประสบการณ์

การเรียนรู้



สื่อ อุปกรณ์

การวัดและประเมิน

จำนวน (ชั่วโมง)
วิธีการ เครื่องมือ ทฤษฎี ปฏิบัติ
1. การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง 1. อธิบายแนวคิด ปรัชญา กลยุทธ์ การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงได้
2. อธิบายจิตวิทยาเด็กและผู้ใหญ่ได้
3. อธิบายการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
และการใช้ข้อมูลชุมชน
เป็นฐานได้
4. นำความรู้เรื่องการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงไปใช้ปฏิบัติงานในชุมชนได้
1) แนวคิด ปรัชญา กลยุทธ์ การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง
2) จิตวิทยาผู้ใหญ่
3) การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
4) การจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
5) PLC กับการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง
- การใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)
1. บรรยาย
2. ฝึกปฏิบัติ

 

1. สื่อ Power Point
2. เอกสารประกอบการอบรม
3. ใบงาน

 

1. ตรวจใบงาน
2. ทดสอบ
1. แบบประเมินการฝึกปฏิบัติตามใบงาน
2. แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์
6 1

2. การบริหาจัดการศูนย์การเรียนชุมชนฯ

1. อธิบายบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)
2. อธิบายการจัดสภาพศูนย์การเรียนชุมชนฯให้เอื้อต่อการเรียนรู้ได้
3.บอกรายการเอกสาร
ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ
งานได้
4. สรุปการรายงานผลการปฏิบัติงานได้
1) การจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนฯ
2) การจัดสภาพศูนย์การเรียนชุมชนฯ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้
3) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
4) การรายงานผลการปฏิบัติงาน
1. บรรยาย
2. ซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้ารับการอบรม
3. สรุปองค์ความรู้ ร่วมกัน
1. สื่อ Power Point
2. เอกสารประกอบการอบรม

 

ทดสอบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

2

-

3. ความเป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ 1. อธิบายความเป็นมาของครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ ได้
2. อธิบายเจตคติและอุดมการณ์ความเป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ ได้
3. อธิบายจรรยาบรรณวิชาชีพครูได้
4. บอกความแตกต่างของครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ ในอดีตและปัจจุบันได้
1) ประวัติความเป็นมาของครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ
2) เจตคติและอุดมการณ์ความเป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ
3) จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
4) ครูศูนย์การเรียนชุมชนฯ ในสภาพสังคมปัจจุบัน
1. บรรยาย
2. กิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจ
3. สรุปองค์ความรู้ ร่วมกัน
1. สื่อ Power Point
2. เอกสารประกอบการอบรม
3. สื่อวิดีทัศน์

 

ทดสอบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

4

-

4.บทบาทในการ
จัดการศึกษาของ
ครูศูนย์การเรียนชุมชนชุมชน ชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”
อธิบายบทบาทของครูศูนย์การเรียนชุมชนชุมชน ชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ได้ 1) การส่งเสริมการรู้หนังสือ
2) การศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) การศึกษาต่อเนื่อง
4) การศึกษาตามอัธยาศัย
5) การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ศูนย์การเรียนชุมชน ชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”
- โครงการอาหารกลางวัน
- โครงการทุนการศึกษาเด็กสภาวะยากลำบากในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือ
- กิจกรรมชุมชน
1. บรรยาย

1. สื่อ Power Point
2. เอกสารประกอบการอบรม

 

 

ทดสอบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

8

-

5. ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 1. อธิบายความเป็นมาของโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ และโครงการส่งเสริมภาษาไทยบนพื้นที่สูง
(การฟัง-พูด) ได้
2. อธิบายแนวทางการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม และความเชื่อของชุมชนได้
3. บอกวิธีการบำรุงรักษา
โซล่าเซลล์ได้
4. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง (DM-HACLC)
1) โครงการพระราชดำริฯ
- สร้างป่าสร้างรายได้
- การส่งเสริมภาษาไทยบน พื้นที่สูง (การฟัง-พูด)
2) แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม และความเชื่อของชุมชน
3) การบำรุงรักษาโซล่าเซลล์
4) การใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง (DM-HACLC)
1. บรรยาย
2. แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมตามใบงาน
3. สรุปองค์ความรู้ ร่วมกัน

 

 

1. สื่อ Power Point
2. เอกสารประกอบการอบรม

 

1. ตรวจใบงาน
2. ทดสอบ
1. แบบประเมินการฝึกปฏิบัติตามใบงาน
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

7

5

6. การจัดทำแผนงานโครงการในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง 1. บอกขั้นตอนการสำรวจข้อมูลในชุมชนได้
2. รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำแผนงานโครงการในการ
จัดการศึกษาบนพื้นที่สูงได้

 

1) การสำรวจข้อมูลชุมชน
2) แผนงาน/โครงการ
1. บรรยาย
2. ฝึกปฏิบัติ
3. สรุปองค์ความรู้ ร่วมกัน

 

1. สื่อ Power Point
2. ใบงาน
3. กระดาษบรู๊ฟ
4. สีไม้ 12 สี
5. ปากกาเคมี
6. ไม้บรรทัด
7. กระดาษ A4
8. เอกสารประกอบการอบรม
1. ตรวจใบงาน
2. ทดสอบ
1. แบบประเมินการฝึกปฏิบัติ
ตามใบงาน
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
3 28
7. การสัมมนาก่อนจบหลักสูตร
(สัมมนาหลังอบรม 2 เดือน)
นำเสนองานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC ได้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC

 

1. นำเสนอการจัดทำแผนงานโครงการในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงได้
2. สรุปองค์ความรู้ ร่วมกัน
1.โปรเจคเตอร์

2.คอมพิวเตอร์

 

 

 

1. ประเมินรายงานการศึกษาชุมชน
2. ทดสอบ


1. แบบประเมินรายงานการศึกษาชุมชน

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

-

6

รวม

30

40

กิจกรรมการเรียนรู้/ประสบการณ์การเรียนรู้

1. ศึกษาด้วยตนเอง
2. วิทยากรให้ความรู้
3. ฝึกปฏิบัติ
4. สัมมนาการนำเสนอผลการนำความรู้ไปใช้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC
5. สรุปองค์ความรู้

 

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. เอกสารประกอบการฝึกอบรม
2. สื่อวิดิทัศน์
3. สื่อ Power Point
3. ระบบโปรแกรมฐานข้อมูลสารสนเทศ ศศช. สำนักงาน กศน. (DM -HACLC)
4. วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู
5. ใบงาน
6. ผู้รู้ ภูมิปัญญา ชุมชน

แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้
ประเด็นการประเมิน/วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การผ่าน เกณฑ์การจบหลักสูตร
1. ประเมินความรู้ ความเข้าใจ
1.1 ทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน (30ข้อ)
1.2 ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
(30 ข้อ) (30 คะแนน)
1.แบบทดสอบก่อนเรียน
2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 

1. มีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 1. มีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการประเมินทักษะ รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

2. มีระยะเวลาการเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาของหลักสูตร

3. มีคุณลักษณะอัน
พึงประสงค์
“ใฝ่เรียนรู้”
ในระดับดีขึ้นไป
2. ประเมินทักษะ (70 คะแนน)
2.1 ประเมินจากการฝึกปฏิบัติตามใบงานระหว่างการอบรม (20 คะแนน)
2.2 ประเมินจากการฝึกประสบการณ์การจัดการเรียนรู้การจัดทำสำรวจข้อมูล การจัดทำแผนงานโครงการ (50 คะแนน)
2.2.1 ประเมินจากการนำเสนอ (20 คะแนน)
2.2.2 ประเมินจากเอกสารแผนงานโครงการ
(30 คะแนน)

 1. ใบงาน (2 ใบงาน)

2. แบบประเมินการฝึกปฏิบัติตามใบงาน
3. แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
4. แบบประเมินเอกสารแผนงานโครงการ

1. มีคะแนนจากการตรวจผลงานตามใบงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 (ศิลปะวัฒนธรรม/ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ (DM-HACLC))

2. มีคะแนนจากการนำเสนอผลและส่งเอกสารแผนงานโครงการรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

3. ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “ใฝ่เรียนรู้”

 

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “ใฝ่เรียนรู้” -ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “ใฝ่เรียนรู้”ในระดับดีขึ้นไป


การออกหลักฐาน

ผู้ที่จะได้รับวุฒิบัตร จะต้องผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตร

การประเมินหลักสูตร

ประเมินหลักสูตรโดยประเมินครบทั้งระบบของหลักสูตร ประกอบด้วย การประเมินเอกสารหลักสูตร การประเมินผลระบบของหลักสูตร และการประเมินผลผลิต


องค์ประกอบ

การประเมิน
รายการประเมิน วิธีการ เครื่องมือ ระยะเวลา
1. การประเมินเอกสารหลักสูตร องค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร ได้แก่
- ข้อมูลพื้นฐาน
- จุดมุ่งหมายหลักสูตร
- โครงสร้างของหลักสูตร
- เนื้อหาของหลักสูตร
- ฯลฯ
- พิจารณาความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆของหลักสูตร
- ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมต่อด้านหลักสูตร
- แบบประเมินความสอดคล้อง 3 ระดับ
- แบบสอบถามความพึงพอใจ
มาตราประมาณค่า 5 ระดับ
-ก่อนใช้หลักสูตร

 

2. การประเมินผลระบบของหลักสูตร 1. ด้านหลักสูตร
2. ด้านวิทยากร
3. ด้านสื่อการเรียนรู้
4. ด้านกระบวนการการจัดการเรียนรู้
5. ด้านการวัดผล และประเมินผล
6. ด้านบรรยากาศการเรียนรู้
7. ด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม แบบสอบถาม ความพึงพอใจ
มาตราประมาณค่า 5 ระดับ
หลังการใช้หลักสูตร
3. การประเมิน
ผลผลิต/ผลลัพธ์
1. ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน
2. การนำความรู้ไปใช้

 

1. ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากรายงานผู้จบหลักสูตร
2. การติดตามการนำความรู้ไปใช้
1. รายงานผู้จบหลักสูตร
2. แบบติดตามการนำความรู้ไปใช้
หลังใช้
หลักสูตร

เกณฑ์การประเมินหลักสูตร

1. องค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกัน (ค่า IOC มีค่าไม่น้อยกว่า 0.5)
2. ร้อยละ 80 ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
3. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการเข้ารับการอบรมในระดับดีขึ้นไป
4. ร้อยละ 60 ของผู้เข้ารับการอบรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
5. ร้อยละ 80 ของผู้จบหลักสูตรสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่
6. ร้อยละ 10 ของผู้จบหลักสูตรสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่จนเห็นเป็นประจักษ์หรือตัวอย่างที่ดี